ปัญหาเรื่อง "ใครเป็นคนจ่ายค่าธรรมเนียมการโอนเงินค่าแปลให้นักแปล"
Thread poster: Worapot Sattapunkeeree
Worapot Sattapunkeeree
Worapot Sattapunkeeree  Identity Verified
Thailand
Local time: 18:09
Member (2012)
English to Thai
+ ...
Jun 3, 2014

นักแปลไทยที่ทำงานกับลูกค้าต่างประเทศส่วนใหญ่มักจะประสบปัญหาเรื่อง "เงินค่าแปลที่โอนมาผ่านทาง Paypal หรือ wire transfer ถูกหักค่าธรรมเนียมการโอน ทำให้ได้เงินค่าแปลไม่ครบ"

ทำไมถึงเกิด
... See more
นักแปลไทยที่ทำงานกับลูกค้าต่างประเทศส่วนใหญ่มักจะประสบปัญหาเรื่อง "เงินค่าแปลที่โอนมาผ่านทาง Paypal หรือ wire transfer ถูกหักค่าธรรมเนียมการโอน ทำให้ได้เงินค่าแปลไม่ครบ"

ทำไมถึงเกิดปัญหานี้???

ปัญหาเกิดขึ้น เพราะว่าตัวนักแปลเองไม่ถามรายละเอียดเรื่อง "ใครเป็นคนจ่ายค่าธรรมเนียมการโอนเงินค่าแปลให้นักแปล" กับลูกค้าตั้งแต่แรก

หากถามแล้ว ลูกค้าบางบริษัทออกค่าธรรมเนียมการโอนเงินค่าแปลให้ อันนี้ก็ดีไป

แต่บางที่ถามแล้ว ก็ยังมีปัญหาตามมา เพราะลูกค้าบางบริษัทมีกฏว่า "ไม่จ่ายค่าธรรมเนียมการโอนเงินค่าแปลให้นักแปล" หรือ "ขอหักเงินค่าธรรมเนียมการโอนเงินค่าแปลจากนักแปลเลย"

ส่วนตัวผมมีวิธีการจัดการกับค่าธรรมเนียมการโอนเงินค่าแปลดังนี้:

1. เมื่อลูกค้าติดต่อมาเพื่อขอ CV ขอให้กรอกใบสมัคร ขอ rate ถามเรื่อง turnaround ถามเรื่อง availability ผมจะขอคุยเรื่อง rate ก่อนอย่างเดียว เพราะอะไร??? เพราะว่าหากทำตามที่ลูกค้าขอมาทั้งหมดแล้ว แต่ปรากฏว่า ลูกค้าไม่ accept rate ของเรา ก็ไม่มีประโยชน์ เสียเวลาทำไปเยอะแยะโดยใช่เหตุ ดังนั้น ให้คุยเรื่อง rate อย่างเดียวก่อนเท่านั้น ถ้าตกลงกันได้พอใจ rate ทั้ง 2 ฝ่าย ค่อยทำสิ่งอื่นที่ลูกค้าขอมาทีหลัง

2. ตอนบอก rate ลูกค้า ให้บอกเป็น 2 rate ตามช่องทางการจ่ายเงิน Skrill และ Paypal

- หากใช้ Skrill จ่าย ผู้รับเงินจะได้รับเงินเต็มจำนวนตามที่ระบุใน invoice เพราะว่า Skrill จะบังคับให้ลูกค้าจ่ายค่าธรรมเนียมรายการทั้งหมด เงินที่ส่งมาไม่โดนหักอะไรทั้งนั้น ได้รับเต็ม แถมอัตราแลกเปลี่ยนเงินตราต่างประเทศของ skrill ก็ยังสูงกว่าของ Paypal ด้วย แต่ Skrill ก็มีข้อเสียตรงที่ มีค่าธรรมเนียมการถอนเงินออกจาก Skrill แล้วโอนไปยังบัญชีนักแปล + ค่าธรรมเนียมรับเงินโอน Skrill ที่ธนาคารนักแปลเรียกเก็บจากเงินที่ส่งมาด้วย

- หากใช้ Paypal จะมีค่าธรรมเนียมการทำรายการสำหรับประเทศไทย 4.4% ของยอดเงินที่โอน + ค่าธรรมเนียมเงินตราต่างประเทศ (0.30 USD, 0.35 Euro, 0.20 GBP) หักจากยอดเงินที่โอนมา ทำให้นักแปลได้รับเงินค่าแปลไม่เต็มจำนวนตามที่ระบุใน invoice แถมอัตราแลกเปลี่ยนเงินตราต่างประเทศของ Paypal ก็ยังต่ำกว่าตลาดเยอะด้วย

ดังนั้น rate สำหรับช่องทางจ่ายเงิน Skrill ให้นักแปลบอก rate ปกติของตนเองไป ส่วน rate สำหรับช่องทางจ่ายเงิน Paypal ให้นักแปลคำนวนรวมค่าธรรมเนียม Paypal ทั้ง 2 อย่างด้านบนรวมเข้าไปด้วยเลย + บอกด้วยว่านี่ คือ regular service ไม่ใช่ express service (rush job) ตามตัวอย่างสมมติด้านล่างนี้:

REGULAR SERVICE

Translation

My English > Thai translation rate is 0.10 USD per source word if you pay via Skrill.
My English > Thai translation rate is 0.11 USD per source word if you pay via Paypal.

Editing/ Proofreading/ Review

My English > Thai editing/proofreading/review rate is 30 USD per hour if you pay via Skrill.
My English > Thai editing/proofreading/review rate is 32 USD per hour if you pay via Paypal.

Minimum Charge

My minimum charge is 15 USD in case you pay via Skrill.
My minimum charge is 16 USD If you pay via Paypal.

ลูกค้าก็จะเลือกเอาว่า จะเอา rate ไหน ตามช่องทางการจ่ายเงินไหน แล้วปัญหาเรื่อง "ใครเป็นคนจ่ายค่าธรรมเนียมการโอนเงินค่าแปลให้นักแปล" หรือ ปัญหาเรื่องบริษัทลูกค้ามีกฏไม่ยอมจ่ายค่าธรรมเนียมการโอนเงิน หรือ ปัญหาเรื่องลูกค้าขอเงินค่าธรรมเนียมการโอนเงินจากเราโดยตรง ก็จะหมดไป เพราะว่าเราได้รวมค่าธรรมเนียมการทำรายการโอนเงินของ Paypal เข้าไปใน rate เรียบร้อยแล้ว



ส่วนในกรณีช่องทางการจ่ายเงิน wire/bank transfer จะมีค่าธรรมเนียมการโอนเงินแบบ SWIFT ดังนี้:

- issuing bank fee = ค่าธรรมเนียมออก SWIFT ที่ธนาคารลูกค้าเรียกเก็บ
- intermediary bank fee (optional) = ค่าธรรมเนียมโอนเงิน SWIFT จากธนาคารลูกค้ามายังธนาคารของนักแปล ที่ธนาคารคนกลางเรียกเก็บ
- receiving bank fee = ค่าธรรมเนียมรับเงินโอน SWIFT ที่ธนาคารนักแปลเรียกเก็บจากเงินที่ส่งมา

ทั้งหมดทั้งสิ้นรวมกันประมาณ 30 USD, 25 Euro, 20 GBP (หากธนาคารลูกค้า ไม่ต้องใช้ธนาคารตัวกลาง คือส่งตรงมายังธนาคารนักแปลได้เลย ค่าธรรมเนียมนี้ จะลดลงครึ่งต่อครึ่ง ดังนั้นกรุณาถามลูกค้าโดยตรง)

แต่ช่องทางการจ่ายเงินนี้ดีตรงใช้อัตราแลกเปลี่ยนเงินตรา ณ วันที่เงินโอนมาถึงธนาคารนักแปล ดังนั้น เราจะได้อัตราแลกเปลี่ยนตามความจริง สูง

ตัวผมเองเลือกช่องทางจ่ายเงินนี้ ก็ต่อเมื่อลูกค้าออกค่าธรรมเนียมให้ (issuing bank fee & intermediary bank fee ผมออก receiving bank fee เอง) หรือ ลูกค้าให้ผมสามารถใส่ค่าธรรมเนียมเหล่านี้ลงใน Invoice รวมเข้ากับค่าแปล เป็นยอดเงินรวมส่งเรียกเก็บได้



ส่วนช่องทางการจ่ายเงิน Western Union ผมก็ใช้อยู่กับลูกค้า 2 คน ได้รับเงินเต็มจำนวน ไม่เสียค่าธรรมเนียมใด ๆ ทั้งสิ้น แต่อัตราแลกเปลี่ยนเงินตราต่างประเทศค่อนข้างต่ำ แถมผมเองต้องได้รับรหัสรับเงินจากลูกค้าก่อน แลัวต้องเสียเวลาเดินทางไปที่ธนาคารกรุงเทพ กรุงศรีเพื่อเบิกเงิน กรอกเอกสารยุ่งยากพอควร



ในปัจจุบันนี้ ก็มีช่องทางการจ่ายเงินผ่านธนาคารแบบใหม่ ที่แปลงเป็นเงินบาทที่ธนาคารลูกค้า แล้วโอนเข้าบัญชีธนาคารเราโดยตรง แถมเราไม่เสียค่าธรรมเนียมรับเงินใด ๆ ทั้งสิ้น (SWIFT เราเสียค่าธรรมเนียมรับเงินโอนต่างประเทศแล้วแปลงเป็นเงินบาทเข้าบัญชี)

แต่ผมว่าก็ยังมีข้อเสีย เพราะว่าวันนั้นผมได้รับเงินโอนลักษณะนี้มาก้อนหนึ่งจากประเทศในยุโรป เป็นเงินบาทเข้าบัญชีมา ผมอยากรู้ว่าเงินที่ส่งมาเป็นเงินบาทนี้ เป็นยอดเงินที่แปลงจากเงิน USD ตามที่ระบุใน Invoice หรือไม่ ผมเลยโทรถามธนาคารผม (กรุงไทย) ปรากฏว่า ทางธนาคารไม่ทราบ พร้อมระบุว่าเป็นการโอนเงินแบบบาทเน็ต กรุงไทยรับเงินโอนเป็นเงินบาทมาจากธนาคารกรุงเทพมาอีกที พร้อมแนะนำให้ผมโทรถามธนาคารกรุงเทพ แต่ท้ายที่สุด พนักงานกรุงไทยที่รับสายก็โทรถามธนาคารกรุงเทพให้ผม สักพักโทรกลับมาหาผมบอกว่า ทางธนาคารกรุงเทพก็ไม่รู้ยอดเงินเป็น USD เช่นกัน เพราะเงินแปลงส่งมาเป็นเงินบาท ....

อย่างนี้ ข้อเสียชัด ๆ คือ 1) เราไม่รู้อัตราแลกเปลี่ยน 2) ผลที่ตามมาคือ เราไม่รู้ว่า ลูกค้าจ่ายเงินครบจำนวน USD ไหม และ หักเงินค่าธรรมเนียมการโอนเงินจากเงินบาทเราไหม ทำให้เราได้รับเงินไทยไม่ครบ

ถ้าใครมีประสบการณ์เรื่องการโอนเงินแบบใหม่นี้ มาแชร์กันนะครับ



ส่วนการโอนเงินจ่ายค่าแปลผ่านเข้าบัตรเครดิตนักแปล ผมไม่มีประสบการณ์เลย รบกวนแชร์มาให้อ่านกันได้นะครับ



ท้ายที่สุดสรุปว่า หากเพื่อน ๆ มีวิธีการจัดการให้ลูกค้าเป็นคนจ่าย ค่าธรรมเนียมการโอนเงิน แนะนำกันมาได้นะครับ เราคนไทยได้ไม่โดนลูกค้าต่างชาติเอาเปรียบครับ



ขอบคุณครับ


วรพจน์ สัตตะพันธ์คีรี



[Edited at 2014-06-03 19:43 GMT]

[Edited at 2014-06-03 19:44 GMT]

[Edited at 2014-06-03 19:45 GMT]
Collapse


 
Dylan J Hartmann
Dylan J Hartmann  Identity Verified
Australia
Member (2014)
Thai to English
+ ...

Moderator of this forum
The nature of our industry Jun 3, 2014

Thank you for this very well informed article.

I've always accepted the fact that we, as the service provider, have to cover the fees. This is also the standard policy of PayPal, not to mention most of the agencies and clients I work for.

If you have ever tried to transfer money to someone via PayPal, you'll see that it's system requests that we enter what the payment is for. There are 2 options: goods and services; friends or family. This is where it's simple. If the
... See more
Thank you for this very well informed article.

I've always accepted the fact that we, as the service provider, have to cover the fees. This is also the standard policy of PayPal, not to mention most of the agencies and clients I work for.

If you have ever tried to transfer money to someone via PayPal, you'll see that it's system requests that we enter what the payment is for. There are 2 options: goods and services; friends or family. This is where it's simple. If the money is for goods and services (in PayPal system) the recipient pays, if it's for friends/family the sender pays. The amount is around 4%, which is why setting a minimum for PayPal, as you mention, is pointless as only a fraction (not a standard rate) is applied.

You make some very good points but I feel that in our industry we, as translators, rarely have the option to negotiate as you recommend. I have signed countless agency contracts that make the translator agree to pay the transfer fees. We just have to be mindful of the costs associated and factor that in. For large payments though, a bank transfer (with its set rate rather than percentage) is best.

I believe that it's the nature of this industry for us to have to abide to the policies of the client, rather than set the rules ourselves. There is too much competition between us (as translators) to try and make demands for the client to agree to. If we demand too much (or charge too high!) they can always find someone else who won't complain.

Our only options to become highly specialised and thereby create our own market.

These are just my thoughts on the issue.

Regards,
DJH

[Edited at 2014-06-03 20:42 GMT]
Collapse


 
Worapot Sattapunkeeree
Worapot Sattapunkeeree  Identity Verified
Thailand
Local time: 18:09
Member (2012)
English to Thai
+ ...
TOPIC STARTER
Jun 5, 2014

ดูอีกอันแทนครับ

[Edited at 2014-06-05 11:06 GMT]


 
Post removed: This post was hidden by a moderator or staff member because it was not in line with site rule
Post removed: This post was hidden by a moderator or staff member because it was not in line with site rule
Khwansuree DEROLLEPOT
Khwansuree DEROLLEPOT  Identity Verified
France
Local time: 12:09
Member (2012)
English to Thai
+ ...
SITE LOCALIZER
ขอแบ่งปันประสบการณ์ในยุโรปนะคะ Jun 6, 2014

เนื่องจากส่วนตัวทำงานในทวีปยุโรป ขอแบ่งปันประสบการณ์ในส่วนของนักแปลไทยในยุโรปนะคะ โดยส่วนตัวแล้วการจ่ายค่าธรรมเนียมในการแปลไม่ได้เป็นปัญหาเท่าใดนัก เพราะคิดราคาค่อนข้าง�... See more
เนื่องจากส่วนตัวทำงานในทวีปยุโรป ขอแบ่งปันประสบการณ์ในส่วนของนักแปลไทยในยุโรปนะคะ โดยส่วนตัวแล้วการจ่ายค่าธรรมเนียมในการแปลไม่ได้เป็นปัญหาเท่าใดนัก เพราะคิดราคาค่อนข้างสูงอยู่แล้ว จึงไม่ได้รับผลกระทบมาก ถือเป็นบริการให้ลูกค้าไป อีกอย่างหนึ่งคือการโอนเงินภายในธนาคารยุโรปส่วนใหญ่ไม่เสียค่าธรรมเนียมเลย หรือเสียน้อยมาก (อาจเป็นเพราะจ่ายค่าธรรมเนียมประจำปีแพงอยู่แล้ว) จึงน่าจะเป็นทางออกที่ดีที่สุดสำหรับนักแปลไทยในยุโรปที่มีลูกค้าในทวีปยุโรปค่ะ

เห็นด้วยกับคุณวจพจน์ที่ว่า ก่อนการเจรจา เซ็นสัญญา ทำแบบทดสอบที่ยุ่งยากและเสียเวลาใด ๆ เรื่องแรกที่ต้องคุยกับลูกค้าคือ เรื่องราคา ถ้าราคาไม่ผ่าน ตกลงกันไม่ได้ จะได้ไม่ต้องเสียเวลาดำเนินการใด ๆ ต่อ เพราะอาชีพนักแปลอิสระ เวลาทุกวินาทีก็คือเงิน (ฟังดูทุนนิยมไปไหมคะ) วิธีการต่อรองของคุณวรพจน์ถือว่าชัดเจนดี คุณใช้ Paypal คุณก็จ่ายแพงหน่อย ถ้าใช้ Skrill ก็ถูกหน่อย แต่วิธีนี้บางทีอาจทำให้ลูกค้าสงสัยว่าเราคิดราคาตามคุณภาพงานหรือตามค่าธรรมเนียมกันแน่ ดังนั้นอาจทำให้แยบยลกว่านี้โดยการตีราคาสูงไปเลย (เช่นในกรณีตัวอย่างของคุณวรพจน์ก็คือตี 0.11 ดอลล่าร์ขาดตัวไปเลย ไม่ต้องแจงว่าค่าอะไร เพราะถือว่ารวมอยู่ในค่า "บริการ")

จริง ๆ ที่คุณ DJ Hartmann พูดก็ถูก ว่าในบางครั้ง ลูกค้าบางคนที่ดีแสนดี ยอมให้ราคาสูง ก็กำหนดไว้เลยว่านักแปลต้องรับผิดชอบค่าโอนเงินเอง เพราะอะไร เพราะเขาเห็นว่าบริษัทส่วนใหญ่ทำเช่นนี้ เรื่องอะไรเขาจะยอมเป็นฝ่ายเสียเปรียบ แต่การตัดสินใจสุดท้ายก็อยู่ที่เราค่ะ ว่าเราจะยอมเสียลูกค้าคนนี้ หรือยอมเอาใจเค้าหน่อยเพราะเค้าอาจเป็นคู่ค้าที่สำคัญในระยะยาว และเรทที่เค้าให้ก็สูงอยู่แล้ว ถ้าให้เปรียบเทียบจริง ๆ ก็คล้าย ๆ กับการขายของออนไลน์ เวลาซื้อของจาก Amazon คนส่วนใหญ่คงเลือกซื้อ service premium กันใช่ไหมคะ เพราะส่งฟรี ทำให้ลูกค้าคิดว่าจ่ายเงินเฉพาะค่าของอย่างเดียว ไม่ได้พ่วงอย่างอื่น เป็นเรื่องเล็ก ๆ ที่ทำให้ลูกค้าพึงพอใจ และกลับมาใช้บริการเราอีก เราก็ได้เงินเพิ่ม

อืมมม ท้ายนี้ขอทิ้งท้ายเรื่อง Paypal จริง ๆ แล้วถ้ามีเงินเข้าเดือนละเกิน 100,000 บาท เราสามารถยื่นเรื่องกับ Paypal ขอลดค่าธรรมเนียมเป็น 2% ได้ค่ะ

หวังว่าจะเป็นประโยชน์ต่อผู้อ่านนะคะ
Collapse


 
Kamonwan Wanitsamran
Kamonwan Wanitsamran
Thailand
Local time: 18:09
Thai to English
+ ...
ปัญหาเดียวกันเลยค่ะ Jul 2, 2014

ค่าธรรมเนียมโหดมากจริงๆ สำหรับ Papal แต่วิธีที่ใช้การแก้ให้ได้อัตราแลกเปลี่ยนที่สูงขึ้นคือ ใช้ของแบงค์กรุงเทพสาขานิวยอร์คค่ะ น่าหนักใจกับค่าธรรมเนียมจริงๆ ขอบคุณที่แบ่งปันประสบการณ์นะคะ เป็นประโยชน์มากค่ะ

 
Post removed: This post was hidden by a moderator or staff member because it was not in line with site rule
Soonthon LUPKITARO(Ph.D.)
Soonthon LUPKITARO(Ph.D.)  Identity Verified
Thailand
Local time: 18:09
English to Thai
+ ...
Lump sum quote Aug 31, 2015

Manapat Wanitsamran wrote:

ค่าธรรมเนียมโหดมากจริงๆ สำหรับ Papal แต่วิธีที่ใช้การแก้ให้ได้อัตราแลกเปลี่ยนที่สูงขึ้นคือ ใช้ของแบงค์กรุงเทพสาขานิวยอร์คค่ะ น่าหนักใจกับค่าธรรมเนียมจริงๆ ขอบคุณที่แบ่งปันประสบการณ์นะคะ เป็นประโยชน์มากค่ะ


ผมใช้วิธีเสนอราคาแบบ lump sum โดยตรวจสอบล่วงหน้าว่า ลูกค้าจะจ่ายเงินในแบบใด
ในบางครั้ง ลูกค้าขอเปลี่ยนแปลงวิธีการจ่ายเงินในตอนหลัง เลยต้องเจรจาส่วนต่างของค่าใช้จ่ายกันใหม่
แต่มักเป็นจำนวนเงินเล็กน้อยเมื่อเที่ยบกับรายรับที่จะเข้ามา ผมเลยมักยอมรับเอง
แล้วเตื่อนลูกค้าไปว่า "ผมให้ส่วนลดคุณนะ"

สุนทร ลัภกิตโร


 


To report site rules violations or get help, contact a site moderator:


You can also contact site staff by submitting a support request »

ปัญหาเรื่อง "ใครเป็นคนจ่ายค่าธรรมเนียมการโอนเงินค่าแปลให้นักแปล"







TM-Town
Manage your TMs and Terms ... and boost your translation business

Are you ready for something fresh in the industry? TM-Town is a unique new site for you -- the freelance translator -- to store, manage and share translation memories (TMs) and glossaries...and potentially meet new clients on the basis of your prior work.

More info »
Trados Business Manager Lite
Create customer quotes and invoices from within Trados Studio

Trados Business Manager Lite helps to simplify and speed up some of the daily tasks, such as invoicing and reporting, associated with running your freelance translation business.

More info »